1. ความหมายของสิทธิมนุษยชน 1.1 สิทธิมนุษยชน ตามที่เดชา สวนานนท์ ได้อธิบายความหมายสิทธิมนุษยชนไว้ในหนังสือคำอธิบายศัพท์: รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ว่า สิทธิมนุษยชน หมายถึงสิทธิของมนุษย์ ติดตัวมาแต่เกิดของมนุษย์ทุกคน เป็นกระแสโลกอีกกระแสหนึ่ง องค์การสหประชาชาติได้ผลักดันให้มวลประเทศสมาชิกให้การยอมรับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ยอมรับในหลักการแห่งการคุ้มครองในสิทธิมนุษยชน เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกโดยการจัดตั้งองค์การขึ้นมา เพื่อตรวจสอบดูแล เรียกว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประกอบด้วย ประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอื่นอีกสิบคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งขึ้นตามคำแนะนำของวุฒิสภา พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 3 ได้ให้ความหมายของ สิทธิมนุษยชน ไว้ว่า สิทธิมนุษยชน หมายความว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคลที่ได้ที่ได้รับการรับรอง หรือคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย ตามกฎหมายไทย ตามสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีพันกรณีที่จะต้องปฏิบัติตาม สิทธิมนุษยชน หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนเกิดมามีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีอิสรภาพ เสรีภาพ ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีใครสามารถล่วงละเมิดได้ 1.2 ความหมายของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เดโช สวนานนท์ ได้อธิบายไว้ว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นศัพท์ใหม่ที่เพิ่งจะได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 คำว่ามนุษย์ มีหมายความว่า มีจิตใจสูง มีจิตใจที่เป็นอารยะทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์โลกทั้งปวง เกียรติศักดิ์ คือ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นสิทธิเฉพาะตัวที่พึงสงวน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นคุณสมบัติของมนุษย์ทุกคนพึงสงวนและรักษามิให้บุคคลอื่นมาละเมิดได้ 2. ความสำคัญของสิทธิมนุษยชน มีดังนี้ 2.1 มนุษย์ชนทุกคนเกิดมาแล้วย่อมมีสิทธิในตนเอง สามารถปกป้องตนเองอย่างมีศักดิ์ศรี ไม่สมควรที่บุคคลอื่นจะถือสิทธิ ครอบครอง ซื้อขายใช้แรงงานกดขี่ ทรมาน หรือการลงโทษด้วยวิธีการที่โหดร้าย 2.2 มนุษย์เป็นสัตว์สังคม คือชอบอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเป็นพวก มีอิสระ สร้างสรรค์ผลงาน พัฒนาศักยภาพของตนเอง 2.3 มนุษย์มีเกียรติภูมิที่เกิดเป็นมนุษย์ มีคุณค่าในตนเอง มีความภาคภูมิใจ ไม่ควรเหยียดหยามบุคคลอื่นด้านชื่อเสียง เกียรติยศ การประจาน ต่อสาธารณชนให้เสื่อมเสียเกียรติยศชื่อเสียง ดังนั้น กฎหมายจึงต้องคุ้มครองป้องกันสิทธิของบุคคล เกียรติยศ ชื่อเสียง 2.4 มนุษย์ทุกคนเกิดมามีฐานะไม่เท่าเทียมกัน ศักยภาพไม่เท่าเทียมกันแม้ถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา ศาสนา ผิกาย สุข สถานภาพทางสังคม การศึกษาไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้น บุคคลพึงได้รับการคุ้มครองจากรัฐในฐานะเป็นพลเมืองของรัฐ |
วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
ความหมายและความสำคัญของสิทธิมนุษยชน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
1 ความคิดเห็น:
ขอบคุณสำหรับข้อมูลเรื่องความสำคัญของสิทธิมนุษยชน นะคะ ^^
กว่าจะหาได้ รากแทบงอกก
ขอบคุณนะคะ ...
แสดงความคิดเห็น