วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

บทบาท หน้าที่ ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน พ.ศ.2542


1. ความเป็นมา
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิเท่าทีควรจึงถูกละเมิดอยู่มาตลอด พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2540 เป็นรัฐธรรมนูญที่เกิดจากความต้องการและการมีส่วนร่วมของประชาชนจากทุกภาคส่วนเพื่อป้องกันศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคของบุคคลมีการพึงได้อย่างเท่าเทียมกันของประชาชน
2. องค์ประกอบ

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน คือ บุคคลที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วย ประธานกรรมการ 1 คน และกรรมการอีก10 คน
3. อำนาจหน้าที่

3.1 ส่งเสริมการเคารพและปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน ในระดับประเทศและระหว่างประเทศ ตรวจสอบการรายงานการกระทำต่อรัฐสภา

3.2 เสนอนโยบาย และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย กฎหรือข้อบังคับต่อรัฐสภา และคณะรัฐมนตรี เพื่อส่งเสริม และคุ้มครอง
3.3 ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน
3.4 ส่งเสริมความร่วมมือและการประสารงานระหว่างหน่วยราชการ องค์การเอกชนและองค์การอื่นในด้านสิทธิมนุษยชน
3.5 จัดทำรายงานประจำปีเพื่อประเมินสถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชน ภายในประเทศเสนอต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี และเปิดต่อสาธารณะ
3.6 ประเมินผลและจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีเสนอต่อรัฐสภา
3.7 เสนอความคิดเห็นต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาในกรณีที่ประเทศไทยจะเข้าเป็นภาคีสัญญาเกี่ยวกับการส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
3.8 แต่ตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
3.9 ปฏิบัติการอื่น ตามกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ หรือกฎหมายอื่น ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการ

ไม่มีความคิดเห็น: