1. แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน 1.1 สิทธิมนุษยชนครอบคลุมถึงสิทธิของทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา นับแต่ทารกแรกเกิดและมีชีวิต เด็กและเยาวชน สตรี ผู้ยากไร้ คนเร่ร่อน ผู้ใช้แรงงาน คนพิการ คนขอทาน เกษตรกร ผู้ป่วยรวมถึงคนป่วยโรคเอดส์ และคนฝากขัง 1.2 สิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องของ 1.2.1 ชีวิตทุกชีวิต 1.2.2 สิทธิ เสรีภาพ อิสรภาพ 1.2.3 ความเสมอภาค 1.2.4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 1.2.5 การคุ้มครองตาม 1. รัฐบาล 2. ปฏิญญาสากล 3. กฎหมายและข้อตกลงระหว่างประเทศ 4. มารฐานสากล 1.3 รัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่บัญญัติเรื่องศักดิ์ความเป็นมนุษย์ มีความเชื่อมโยงและเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่อง สิทธิมนุษยชน อย่างแยกกันไม่ได้ 2. หลักการสำคัญของ สิทธิมนุษยชน 2.1 สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิเฉพะของมนุษย์แต่ละคนที่ไม่สามารถโอนให้กันและกันได้ 2.2 สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้ และต้องพึ่งพิงกันและกัน 2.3 สิทธิมนุษยชน เป็นวิถีทางที่นำไปสู่สันติภาพและพัฒนาที่ยั่งยืน 2.4 สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิที่บุคคลพึงมีในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 2.5 สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิที่ทุกคนพึงมีความเท่าเทียมกันอย่างเป็นสากลและตลอดไป 3. สิทธิมนุษยชน ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 หมวด 1 บททั่วไป มาตรา 4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง มาตรา 26 การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กรต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ มาตรา 28 บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีงามของประชาชน บุคคลถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เพื่อใช้สิทธิทางศาล หรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้ มาตรา 31 บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้าย จะกระทำมิได้ แต่การลงโทษประหารที่กฎหมายบัญญัติ ไม่ถือว่าเป็นการลงโทษด้วยวิธีโหดร้าย การจับ คุมขัง ตรวจค้นตัวบุคคล หรือการกระทำใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอำนาจบทบัญญัติแห่งกฎหมาย มาตรา 34 สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกรียศติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัว ย่อมได้รับความคุ้มครอง การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย ข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชนอันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกรียศยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวจะกระทำมิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน มาตรา 53 เด็ก เยาวชน และบุคคลในคอบครัว มีสิทธิได้รับการคุ้มครองโดยรัฐจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม เด็กและเยาวชนไม่มีผู้ดูแล มีสิทธิได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาอบรมจากรัฐทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ หมวด 8 ศาล มาตรา 241 ในคดีอาญา ผู้ต้องหาหรือจำเลยย่อมมีสิทธิได้รับการสอบสวนหรือการพิจารนาคดีด้วยความรวดเร็วต่อเนื่องและเป็นธรรม ในขั้นสอบสวน ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนปากคำตนได้ ผู้เสียหายหรือจำเลยได้คดีย่อมมีสิทธิตรวจหรือคัดสำเนาให้การของตนในขั้นสอบสวนหรือเอกสารประกอบคำให้การของตน เมือพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องต่อสารแล้วทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ ในคดีอาญาที่พนักงานวัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องแล้ว ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา หรือผู้มีส่วนได้เสีย ย่อมมีสิทธิขอทราบสรุปพยานหลักฐาน พร้อมความเห็นของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการในการสั่งคดี ตามกฎหมายบัญญัติ มาตรา 244 บุคคลเป็นพยานในคดีอาณามีสิทธิได้รับการคุ้มครอง การปฏิบัติที่เหมาะสม และค่าตอบแทนที่จำเป็นและสมควรจากรัฐ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา 245 บุคคลผู้เสียหายในคดีอาญามีสิทธิได้รับการคุ้มครอง การปฏิบัติที่เหมาะสม และค่าตอบแทนที่จำเป็นและสมควรจากรัฐ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ บุคคลใดได้รับความเสียหายถึงแก่ชีวิตหรือแก่ร่างกายหรือจิตใจ เนื่องจากการกระทำผิดอาญาของผู้อื่นโดยตนมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดและไม่มีโอกาสได้รับบรรเทาความเสียหายโดยทางอื่น บุคคลนั้นหรือทายาทย่อมมีสิทธิได้ย่อมมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ มาตรา 246 บุคคลใดตกเป็นจำเลยในคดีอาญาและถูกคุมขังระหว่างการพิจารณาคดีหากปรากฏตามคำพิพากษาคดีนั้นว่าข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิด การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดบุคคลนั้นย่อมมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายตามสมควร ตลอดจนบรรดาที่เสียไปเพราะการนั้นคือ ทั้งนี้ตามเงื่อนไขและวิธีกฎหมายบัญญัติ บทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนจึงเป็นข้อผูกพัน หรือบทบัญญัติที่กำหนดให้รัฐ หรือผู้ปกครองรัฐ ไม่ลวงละเมิดเสรีภาพของบุคคล และยังต้องคุ้มครองให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วย |
วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น