วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ระบอบการปกครองแบบเผด็จการ


ความหมายของการปกครองแบบเผด็จการ
1. เป็นการปกครองที่เน้นอำนาจรัฐเหนือเสรีภาพของบุคคล ผู้ปกครองอาจเป็นคนเดียวหรือหลายคนเข้ายึดอำนาจหรือผูกขาดการใช้อำนาจยาวนาน
2. ประชาชนต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐผู้ขัดจะได้รับการลงโทษที่รุนแรง
รูปแบบการปกครองแบบเผด็จการ
1.1 เผด็จการอำนาจนิยม หมายถึง การปกครองที่รัฐเข้าควบคุมและผูกขาดการดำเนินการทางการเมืองการปกครอง ประชาชนยังมีเสรีภาพด้านเศรษฐกิจและสังคม การปกครองของของประเทศสเปนภายใต้ การปกครองของอิรัก ภายใต้การปกครองของประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน
1.2 เผด็จการเบ็ดเสร็จนิยม หมายถึง การปกครองที่รัฐเข้าควบคุมและผูกขาดการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมในรัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จนิยมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือเผด็จการฟาสซิสต์และเผด็จการคอมมิวนิสต์
1.3 เผด็จการฟาสซิสต์ เป็นการปกครองที่เน้นความสำคัญของผู้นำว่ามีอำนาจเหนือกว่าประชาชนทั่วไป เน้นความเป็นเชื้อชาตินิยมอย่างรุนแรงกระตุ้นให้รักชาติและการใช้กำลังรุนแรง
1.4 เผด็จการคอมมิวนิสต์ เป็นการปกครองที่รัฐเข้าควบคุมทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในรัฐนั้นๆ เน้นความสำคัญของชนชั้นกรรมาชีพ




ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนในระบอบเผด็จการ คือ รัฐจะกัดบทบาทหน้าที่และสิทธิเสรีภาพของประชาชน ประชาชนมีหน้าที่ปฏิบัติตนตามนโยบายและคำสั่งของรัฐบาลโดยไม่มีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นหรือหรือโต้แย้ง ปะชาชนต้องมีวินัย ปฏิบัติตามเกณฑ์ ระเบียบตลอดจนกฎหมายประชาชนที่ฝ่าฝืนจะต้องับโทษอย่างรุนแรง
ข้อดีข้อเสียของระบอบเผด็จการ
ข้อดีของระบอบเผด็จการ

1. รัฐบาลสามารถตัดสินใจทำการได้รวดเร็วกว่ารัฐบาลนะบอบประชาธิปไตย เช่นสามารถออกกฎหมายบังคับใช้ เพื่อวัตถุใดวัตถุหนึ่งไม่ต้องผ่านความคิดเห็น
2. การแก้ปัญหาบางอย่างมีประสิทธิผลกว่าการปกครองแบบประชาธิปไตย เช่น การสั่งการปราบจลาจล การก่ออาชญากรรม และการก่อการร้ายต่างๆ ได้อย่างมาก



ข้อเสียของระบอบเผด็จการ




1. เป็นการปกครองโดยบุคคลคนเดียวหรือกลุ่มเดียวย่อมจะมีการผิดพลาดและใช้อำนาจ เพื่อประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องได้
2. มีการใช้อำนาจเผด็จการ กดขี่ และลิดรอนสิทธิเสรีภาพ รวมทั้งประทุษร้ายต่อชีวิตของคนหรือกุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับกลุ่มผู้ปกครอง
3. ทำให้คนดีมีความสามารถ ที่ไม่ใช่พวกพ้อง หรือผู้สนับสนุนกลุ่มผู้ปกครองไม่มีโอกาสดำรงตำแหน่งสำคัญในการเมือง
4. ประชาชนส่วนใหญ่ที่ถูกกดขี่และขาดสิทธิเสรีภาพย่อมไม่สนับสนุนนโยบายของรัฐบาลอย่างเต็มที่ และอาจพยายามต่อต้านอยู่เงียบๆ
5. อาจนำประเทศชาติไปสู่ความพินาศได้ เหมือนดังฮิตเลอร์ได้นำประเทศเยอรมนีเข้าสู่สงครามโลกหรือพลเอกโตโจได้นำประเทศญี่ปุ่นเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2

1 ความคิดเห็น:

Magzeen กล่าวว่า...

ขอบคุณมากคร๊