วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551

ความรู้เกี่ยวกับรัฐ

4.1.1 รัฐ หมายถึง ชุนชนที่ประกอบด้วยประชาชนที่อาศัยอยู่ร่วมกันในดินแดนที่อาณาเขตแน่นอนมีรัฐบาลเดียวในการบริหารประเทศอย่างอิสระ
4.1.2 องค์ประกอบของรัฐ บางออกเป็น 4 ประเภท คือ
1.ประชากร หมายถึง พลเมืองของรัฐ ซึ่งมีจำนวนที่เหมาะสมมากเพียงพอที่จะแบ่งงานกันได้ภายในรัฐ ซึ่งมีเชื้อชาติ ภาษา ศาสนาที่แตกต่างกัน ประชากรในรัฐประกอบด้วย
1.1 คนที่มีสัญชาติ หมายถึงคนที่กำหนดดินแดนของรัฐนั้นมีสิทธิเสรีภาพทางการเมืองอย่างเต็มที่ในฐานะพลเมืองของรัฐ
1.2 คนต่างด้าว หมายถึง คนต่างประเทศหรือคนต่างรัฐที่เข้ามาอาศัยอยู่ในรัฐที่ตนไม่มีสัญชาติของรัฐ
1.3 เผ่าชน หมายถึง กลุ่มชนที่มีความเป็นอยู่ไม่แน่นในรัฐ ไม่มีหลักฐานแน่ชัดเกี่ยวกับการเกิด และภูมิลำเนา จึงเป็นแต่ผู้ที่อาศัยภายในรัฐ
2. อาณาเขต หมายถึง ดินแดนที่มีอาณาเขตแน่นอนประกอบด้วย แผ่นดิน น่านน้ำ น่านฟ้า
3. รัฐบาล หมายถึง องค์กรทางงเมืองที่มีอำนาจในการบริหารประเทศให้ประชาชนอยู่อย่างสงบสุข
4. อำนาจอธิปไตย หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศที่เป็นของประชาชนอยู่อย่างสงบสุข
4.1.3 ประเภทรัฐ สามารถแบ่งออก 2 ประเภท คือ
1. รัฐเดี่ยว หมายถึง รัฐที่มีรัฐบาลเดียวในการบริหาร หรือปกครองประเทศ เช่น ประเทศไทย อังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น ศรีลังกา เวียดนาม และสิงคโปร์เป็นต้น
2. รัฐรวม หมายถึง รัฐที่ประกอบด้วย 2 ระดับคือ
2.1 รัฐบาลกลาง มีหน้าที่ ควบคุมดูแลกิจการสำคัญในรัฐ เช่น การทหาร การคลัง ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
2.2 รัฐบาลท้องถิ่นหรือรัฐบาลมลรัฐ มีหน้าที่ดูแลสวัสดิการของประชาชนในท้องถิ่น ด้านการศึกษา สาธารณสุข
4.1.4 หน้าที่ของรัฐ หน้าที่ของรัฐมักกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญของประเทศ รวมทั้งประเทศไทย หน้าที่แยกได้เป็น 5 ประการ คือ
1. หน้าที่ทางการเมืองการปกครอง เช่น การรักษากฎหายและความสงบเรียบร้อย
2. หน้าที่ทางสังคม เช่น หน้าที่ในการส่งเสริมและบำรุงการศึกษา อบรมและฝึกอาชีพแก่ประชาชน หน้าที่ในการส่งเสริมและพัฒนาเยาวชน หน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ หน้าที่ในการสงเคราะห์ผู้ประสบภัย หน้าที่ส่งเสริมให้ประชาชนมีงานทำ หน้าที่ในการส่งเสริมสาธารณสุขและ หน้าที่ในการส่งเสริมศีลธรรมอันดีงาม
3. หน้าที่เศรษฐกิจ คือ หน้าที่การดำเนินการเพื่อยกฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชนให้สูงขึ้น หน้าที่ในการดำเนินการสาธารณูปโภคที่ให้ประโยชน์แก่ประชาชนโดยร่วม เช่น การขนส่งมวลชน ไฟฟ้า โทรศัพท์ การสร้างถนน และหน้าที่ในการป้องกันการผูกขาดในทางเศรษฐกิจ
4. หน้าที่เกี่ยวกับความมั่นคงและเอกราช หน้าที่ในการจัดกองกำลังทหารให้เพียงพอแก่การป้องกันประเทศ
5. หน้าที่ต่อสังคมนานาชาติ เป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องดำเนินนโยบาย สร้างสัมพันธไมตรีกับนานาชาติ

ไม่มีความคิดเห็น: