วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2551

วิธีการติดตั้งLinux RedHat7.2

เริ่มต้นจะต้องใช้แผ่น CD BOOT (ก่อนอื่นต้องกำหนดใน BIOS ให้อ่านจากแผ่น CDด้วย) เมื่อ BOOT เสร็จแล้ว จะมีหน้า Install ขึ้นมา..ให้กด จากนั้นหน้าจอจะให้เลือกภาษา <ให้เลือก English> ในหน้านี้จะให้เลือก Keyboard และ Layout ให้เลือกตามรูป (โดยปกติโปรแกรมจะเลือกค่าที่เหมาะสมให้ หากไม่ต้องการปรับเปลี่ยนอื่นๆ ให้กด Enter ข้ามได้ทันที)

ต่อไปเป็นการติดตั้งโปรแกรม Linux หากต้องการให้เครื่องเป็น Server เลือกที่ Server ถ้าเป็นเครื่องลูกข่ายให้เลือกที่ Workstation

จากนั้นให้ Set Partition ที่จะลงโปรแกรมแนะนำให้เลือกที่ Manually partition with disk druid แล้วเลือก Partition ที่จะลงโปรแกรม.. (เพื่อการทำงานที่รวดเร็ว ให้ฟอร์แมต Partition ที่จะลงโปรแกรมเป็น Ext2 โดยใช้ Partition Magic)

ส่วนในกรณีที่ในเครื่องใช้ระบบปฏิบัติการหลายตัว (OS) ขอแนะนำให้เลือก LILO (หน้าจอจะสวยกว่าแบบ GRUB)

ต่อมาให้กำหนด IP Address และ Hostname จากนั้นตั้งค่า Config ให้ Firewall กำหนดเวลา Time Zone เพียงเอาเมาท์ไปชี้ที่กลางประเทศไทย โปรแกรมจะให้ใส่ Root Password (อย่าให้ต่ำกว่า 8 ตัว) และให้ Add User

จากนั้นให้เลือก Package ที่ต้องการ (จะเลือกทั้งหมดก็ได้ แต่ต้องคำนึงถึงพื้นที่ Harddisk ของท่านด้วย) และต้องเลือกที่ X Windows system ด
ต่อไปคือการเลือกรูปแบบการแสดงผล ให้กำหนดเป็น VGA (หากไม่ทราบโปรแกรมจะหาให้เองอัตโนมัติ แต่ถ้าไม่มีจะหาตัวที่ใกล้เคียงให้)
ขั้นตอนต่อไปจะเป็น Format และลง Packages เมื่อโปรแกรมลง Package เสร็จ หน้าจอจะให้ทำแผ่น Boot Disk เอาไว้ใช้กรณีฉุกเฉิน (แนะนำให้ทำ)

กำหนด Graphics ให้ส่วนของ Default Desktop (แนะนำให้เลือกเป็น KDE) เมื่อกำหนดทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ให้ตอบ Exit โปรแกรมจะทำการ Restart เครื่องให้โดยอัตโนมัติ








วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551

ความรู้เกี่ยวกับรัฐ

4.1.1 รัฐ หมายถึง ชุนชนที่ประกอบด้วยประชาชนที่อาศัยอยู่ร่วมกันในดินแดนที่อาณาเขตแน่นอนมีรัฐบาลเดียวในการบริหารประเทศอย่างอิสระ
4.1.2 องค์ประกอบของรัฐ บางออกเป็น 4 ประเภท คือ
1.ประชากร หมายถึง พลเมืองของรัฐ ซึ่งมีจำนวนที่เหมาะสมมากเพียงพอที่จะแบ่งงานกันได้ภายในรัฐ ซึ่งมีเชื้อชาติ ภาษา ศาสนาที่แตกต่างกัน ประชากรในรัฐประกอบด้วย
1.1 คนที่มีสัญชาติ หมายถึงคนที่กำหนดดินแดนของรัฐนั้นมีสิทธิเสรีภาพทางการเมืองอย่างเต็มที่ในฐานะพลเมืองของรัฐ
1.2 คนต่างด้าว หมายถึง คนต่างประเทศหรือคนต่างรัฐที่เข้ามาอาศัยอยู่ในรัฐที่ตนไม่มีสัญชาติของรัฐ
1.3 เผ่าชน หมายถึง กลุ่มชนที่มีความเป็นอยู่ไม่แน่นในรัฐ ไม่มีหลักฐานแน่ชัดเกี่ยวกับการเกิด และภูมิลำเนา จึงเป็นแต่ผู้ที่อาศัยภายในรัฐ
2. อาณาเขต หมายถึง ดินแดนที่มีอาณาเขตแน่นอนประกอบด้วย แผ่นดิน น่านน้ำ น่านฟ้า
3. รัฐบาล หมายถึง องค์กรทางงเมืองที่มีอำนาจในการบริหารประเทศให้ประชาชนอยู่อย่างสงบสุข
4. อำนาจอธิปไตย หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศที่เป็นของประชาชนอยู่อย่างสงบสุข
4.1.3 ประเภทรัฐ สามารถแบ่งออก 2 ประเภท คือ
1. รัฐเดี่ยว หมายถึง รัฐที่มีรัฐบาลเดียวในการบริหาร หรือปกครองประเทศ เช่น ประเทศไทย อังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น ศรีลังกา เวียดนาม และสิงคโปร์เป็นต้น
2. รัฐรวม หมายถึง รัฐที่ประกอบด้วย 2 ระดับคือ
2.1 รัฐบาลกลาง มีหน้าที่ ควบคุมดูแลกิจการสำคัญในรัฐ เช่น การทหาร การคลัง ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
2.2 รัฐบาลท้องถิ่นหรือรัฐบาลมลรัฐ มีหน้าที่ดูแลสวัสดิการของประชาชนในท้องถิ่น ด้านการศึกษา สาธารณสุข
4.1.4 หน้าที่ของรัฐ หน้าที่ของรัฐมักกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญของประเทศ รวมทั้งประเทศไทย หน้าที่แยกได้เป็น 5 ประการ คือ
1. หน้าที่ทางการเมืองการปกครอง เช่น การรักษากฎหายและความสงบเรียบร้อย
2. หน้าที่ทางสังคม เช่น หน้าที่ในการส่งเสริมและบำรุงการศึกษา อบรมและฝึกอาชีพแก่ประชาชน หน้าที่ในการส่งเสริมและพัฒนาเยาวชน หน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ หน้าที่ในการสงเคราะห์ผู้ประสบภัย หน้าที่ส่งเสริมให้ประชาชนมีงานทำ หน้าที่ในการส่งเสริมสาธารณสุขและ หน้าที่ในการส่งเสริมศีลธรรมอันดีงาม
3. หน้าที่เศรษฐกิจ คือ หน้าที่การดำเนินการเพื่อยกฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชนให้สูงขึ้น หน้าที่ในการดำเนินการสาธารณูปโภคที่ให้ประโยชน์แก่ประชาชนโดยร่วม เช่น การขนส่งมวลชน ไฟฟ้า โทรศัพท์ การสร้างถนน และหน้าที่ในการป้องกันการผูกขาดในทางเศรษฐกิจ
4. หน้าที่เกี่ยวกับความมั่นคงและเอกราช หน้าที่ในการจัดกองกำลังทหารให้เพียงพอแก่การป้องกันประเทศ
5. หน้าที่ต่อสังคมนานาชาติ เป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องดำเนินนโยบาย สร้างสัมพันธไมตรีกับนานาชาติ

วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2551

การปกครองในระบอบประชาธิปไตย


ความหมายของระบบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตย มีดังนี้
1. ระบบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตย หมายถึง การปกครองที่ถือว่าประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ
2. ประชาธิปไตยในความหมายอย่างแคบ หมายถึง การที่ประชาชนมีอำนาจในการปกครองตนเอง
3. ประชาธิปไตยในความหมายอย่างกว้าง หมายถึง วิถีชีวิตที่แสดงถึงวัฒนาธรรมอันประกอบด้วยอุดมการณ์ และพฤติกรรมที่มีหลักการทางประชาธิปไตยเป็นแบบแผนในการดำเนินชีวิตประจำวัน
4. การเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตย หมายถึง ประชาธิปไตยเป็นการปกครองของประชาชนโดยประชาชนและเพื่อประชาชน บุคคลที่ให้ความหมายนี้คือ อับราฮัม ลินคอล์น
ประเภทของประชาธิปไตย แยกออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ประชาธิปไตยโดยตรง หมายถึง การปกครองที่ให้ประชาชนทุกคนในประเทศมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น หรือพิจารณาอภิปรายร่วมกันหรือพิจารณาปัญหาอภิปรายร่วมกันในที่ประชุมโดยตรง
2. ประชาธิปไตยโดยอ้อม หมายถึง ประชาธิปไตยที่ประชาชนในประเทศเลือกตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่ประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาตัดสินปัญหาใดๆของประเทศ
รูปแบบของประชาธิปไตย แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะดังนี้
1.1) ใช้หลักประมุขเป็นเกณฑ์การแบ่ง รูปแบบประชาธิปไตย มี 2 รูปแบบคือ

1. พระมหากษัตริย์เป็นประมุข หมายถึงประเทศที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของรัฐพระมหากษัตริย์ทรงเป็นกลางทางการเมือง และทรงใช้อำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นของปวงชน ได้แก่ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการผ่านทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรีและศาลตามลำดับ
2. ประธานาธิบดีเป็นประมุข มี 2 ประการ คือ ประการแรก ผู้เป็นประธานาธิบดีได้รับเลือกจากประชาชนทำหน้าที่ประมุขของรัฐแต่ไม่ได้เป็นประมุขฝ่ายบริหาร ประการที่สอง ประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งเป็นประมุขของรัฐและเป็นประมุขฝ่ายบริหารด้วย
1.2) ใช้หลักโครงสร้างของฝ่ายบริหารและความสัมพันธ์กับฝ่ายนิติบัญญัติเป็นเกณฑ์ แบ่งเป็น 3 ระบบ คือ
1. ระบบประธานาธิบดี เป็นการปกครองที่ประกอบด้วยสามสถาบันหลัก คือ สถาบันนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ แต่ละสถาบันมีอำนาจขอบเขตของตนเองตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ สถาบันผู้ใช้อำนาจทั้งสามฝ่ายจะเป็นตัวที่คอยถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน
2. ระบบรัฐสภา เป็นการปกครองที่ประกอบด้วยสามสถาบัน คือ สถาบันนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ สถาบันนิติบัญญัติ ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งและวุฒิสภา ส่วนศาลหรือฝ่ายตุลาการจะทำหน้าที่โดยอิสระประเทศที่เป็นแม่แบบของการปกครองแบบรัฐสภาเช่นนี้ คืออังกฤษ
3. ระบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภาเป็นการปกครองที่ประกอบด้วย สามสถาบัน คือ สถาบันนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ เป็นการระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ประกอบด้วยประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐและประมุขฝ่ายบริหาร บริหารประเทศร่วมกับนายกรัฐมนตรี รัฐสภามีอำนาจหน้าที่ในการออกกฎหมาย ควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหาร นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีต้องบริหารงานโดยรับผิดชอบต่อสภา ประธานาธิบดีเป็นผู้กำหนดนโยบายต่างประเทศโดยทั่วไป และมีอำนาจยุบสภาได้
2) ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายของรัฐ โดยวิธีการเลือกผู้แทนราษฎรเข้าทำหน้าที่แทนปวงชนในการกำหนดนโยบาย ออกกฎหมาย เพื่อให้รัฐบาลนำไปบริหารการปกครอง โดยถือกฎหมายเป็นกลไกสำคัญที่รัฐใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อความถูกต้อง ยุติธรรม รัฐมีหน้าที่กำหนดนโยบายการบริหาร ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อความสงบสุขของสังคมโดยกระทรวงต่างๆ รับนโยบายไปปฏิบัติในการรับใช้ประชาชน
3) ข้อดีข้อเสียของระบอบประชาธิปไตย
ข้อดีของประชาธิปไตย

1. เปิดโอกาสให้ประชาชนข้างมากได้ดำเนินการปกครองโดยประชาชนข้างน้อยมีสิทธิคัดค้านการปกครองของฝ่ายข้างมาก
2. เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิเสรีภาพได้อย่างเสมอภาคกัน
3. ถือกฎหมายเป็นมาตรฐานในการดำเนินการปกครองโดยใช้กฎหมายบังคับแก่ทุกคนไม่ว่าคนมั่งมีหรือยากจน
4. ช่วยระงับความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับประชาชนและระหว่างประชาชนด้วยกันเองโดยสันติวิธี โดยมีศาลเป็นผู้พิพากษาคดีต่างๆ ให้เป็นไปตามกฎหมายช่วยให้ประชาชนอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ โดยมีกฎหมายเป็นกรอบความประพฤติทุกคน

ข้อเสียของประชาธิปไตย

1. มีความล่าช้าในการตัดสินใจทำการต่างๆต้องมีการปรึกษาและผ่านขั้นตอนมากเช่น ต้องแก้ไขปรับปรุงจึงจะบังคับใช้เป็นกฎหมาย
2. ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการปกครองมากเช่น การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา หรือเลือกตั้งประธานาธิบดีแต่ละครั้งต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก
3. อาจนำไปสู่ความสับสนวุ่นวายได้ ถ้าประชาชนส่วนมากในประเทศที่ใช้ระบอบประชาธิปไตยไม่รู้จักใช้สิทธิเสรีภาพให้อยู่ภายในกรอบของกฎหมายอาจทำให้ประเทศเจริญช้าลง

วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2551

การทำขนมด้วง




ส่วนผสม
แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วย
แป้งมัน 1 ถ้วย
น้ำ 1 ถ้วย
มะพร้าวทึนทึก 1 ซีก
น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วยตวง
งาคั่วแล้ว 2 ช้อนโต๊ะ
เกลือป่น 1 ช้อนชา
หัวกะทิ 1/2 ถ้วย
วิธีทำ
1. ผสมแป้งข้าวเจ้าและแป้งมัน (เหลือแป้งมันไว้ทำนวลนิดหน่อย) กับน้ำตั้งไฟ กวนพอสุก พักไว้ให้เย็น นวดแป้งให้เนียน โรยนวลเล็กน้อย



2. แบ่งแป้งเป็นก้อนเล็กๆ ใช้มือคลึงแป้งให้เป็นรูปแหลมหัวแหลมท้าย แล้วนำไปใส่ลังถึง นึ่งแป้งให้สุก

3. ขูดมะพร้าวทึนทึกด้วยมือให้เป็นเส้นยาว นำไปนึ่ง เมื่อขนมสุกนำมาคลุกกับมะพร้าว



4. หัวกะทิผสมกับเกลือป่น



5. งาคั่วบุบพอแตก ผสมกับน้ำตาลทราย



6. เวลาจะรับประทาน จัดขนมลง ราดด้วยกะทิและโรยงา
หมายเหตุ ตอนที่ปั้นแป้ง จะแบ่งแป้งผสมสีด้วยก็ได้