วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

บทเฉพาะกาล

มาตรา 36 ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้คณะกรรมการสรรหากรรมการเริ่มดำเนินการสรรหาเพื่อเลือกกรรมการตามมาตรา 8
มาตรา 37 ในกรณีที่มีการสรรหากรรมการในระหว่างที่ยังไม่มีประธานศาลปกครองสูงสุด เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และองค์การเอกชนตามมาตรา 24 ให้คณะกรรมการสรรหากรรมการตามมาตรา 8 ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา อัยการสูงสุด นายกสภาทนายความ อธิการบดีหรือผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นนิติบุคคลแห่งละหนึ่งคนซึ่งเลือกกันเองให้เหลือห้าคน ผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับแห่งละหนึ่งคนซึ่งเลือกกันเองให้เหลือสิบคน ผู้แทนพรรคการเมืองทุกพรรคที่มีสมาชิกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคละหนึ่งคนซึ่งเลือกกันเองให้เหลือห้าคน ผู้แทนสื่อมวลชนในกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งเลือกกันเองกิจการละหนึ่งคนรวมเป็นสามคนเป็นกรรมการ และเลขาธิการวุฒิสภาเป็นเลขานุการ
หลักเกณฑ์และวิธีการขึ้นทะเบียนขององค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่ประธานวุฒิสภากำหนด

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ชวน หลีกภัย
นายรัฐมนตรี

หมวด ๔ บทกำหนดโทษ

มาตรา 34 ผู้ใดไม่มาให้ถ้อยคำ หรือไม่ส่งวัตถุ เอกสาร หรือพยานหลักฐานที่ถูกเรียกหรือถูกสั่งให้ส่งตามมาตรา 32 (2) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๕ ผู้ใดต่อสู้หรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 32 (3) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

หมวด ๓ การตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน

มาตรา 22 ในกรณีที่มีการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและมิใช่เป็นเรื่องที่มีการฟ้องร้องเป็นคดีอยู่ในศาลหรือที่ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งเด็ดขาดแล้ว ให้คณะกรรมการมีอำนาจตรวจสอบและเสนอมาตรการการแก้ไขตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 23 บุคคลใดที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนมีสิทธิยื่นคำร้องโดยทำเป็นหนังสือและต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
(1) ชื่อและที่อยู่ของผู้ร้องหรือผู้ทำการแทน
(2) ข้อเท็จจริงและพฤติการณ์อันเป็นเหตุแห่งการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
(3) ลายมือชื่อของผู้ร้องหรือผู้ทำการแทนที่ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากผู้มีสิทธิยื่นคำร้อง
การร้องเรียนด้วยวาจาให้กระทำได้ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด คำร้องให้ยื่น ณ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ เพื่อส่งต่อไปยังสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติแจ้งผู้ร้องหรือผู้ทำการแทนโดยไม่ชักช้า
มาตรา 24 ในกรณีที่มีการร้องเรียนจากผู้ซึ่งถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน เมื่อองค์การเอกชนดังกล่าวได้พิจารณาเบื้องต้นแล้วเห็นว่ากรณีมีมูลก็อาจเสนอเรื่องให้คณะกรรมการดำเนินการต่อไปได้
องค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน ต้องเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย มีการดำเนินกิจการเกี่ยวข้องโดยตรงกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
มาตรา 25 ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นสมควรให้มีการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน กรณีที่คณะกรรมการได้รับคำร้องว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามมาตรา 23 หรือได้รับเรื่องจากองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนตามมาตรา 24 และเห็นว่ากรณีดังกล่าวมีมูลและอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการแจ้งไปยังบุคคลหรือหน่วยงานที่ถูกอ้างว่าเป็นผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชน เพื่อให้บุคคลหรือหน่วยงานนั้นชี้แจงข้อเท็จจริงภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนด ในการแจ้งดังกล่าวให้คณะกรรมการสรุปรายละเอียดข้อเท็จจริงให้เพียงพอแก่การชี้แจงได้โดยถูกต้องครบถ้วนด้วย
ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นว่าเรื่องที่รับมาไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ให้แจ้งผู้ร้องหรือองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนที่ส่งเรื่องทราบโดยไม่ชักช้า และเพื่อประโยชน์แก่การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนจะส่งเรื่องต่อไปให้บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนั้นดำเนินการแก้ไขตามที่เห็นสมควรต่อไป
ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นว่าเรื่องที่รับมาควรได้รับการพิจารณาแก้ไขโดยองค์กรอื่น มีอำนาจหน้าที่ คณะกรรมการอาจส่งเรื่องให้องค์กรนั้นพิจารณาได้ไม่ว่าเรื่องดังกล่าวจะอยู่ระหว่างการดำเนินการของคณะกรรมการ คณะกรรมการอาจมีหนังสือสอบถามผลการดำเนินการไปยังองค์กร และหากปรากฏว่าองค์กรนั้นยังมิได้ดำเนินการ คณะกรรมการอาจรับเรื่องกลับไปพิจารณาหากเป็นเรื่องที่อยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการได้
ในการส่งเรื่องให้องค์กรอื่นพิจารณาหรือการรับเรื่องกลับไปพิจารณาตามวรรคสามให้คณะกรรมการแจ้งให้ผู้ร้องหรือองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนที่ส่งเรื่องทราบโดยไม่ชักช้าด้วย
มาตรา 26 เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาการชี้แจงข้อเท็จจริงตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งแล้ว ให้คณะกรรมการดำเนินการพิจารณาตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยต้องให้โอกาสผู้ร้องหรือผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงรายละเอียด และเสนอพยานหลักฐานตามสมควรเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่มีการอ้างว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ในการพิจารณาตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามวรรคหนึ่งหากคู่กรณีต้องมาปรากฏตัวต่อหน้าคณะกรรมการ คู่กรณีมีสิทธินำทนายความหรือที่ปรึกษาของตนเข้ามาในกระบวนการพิจารณาตรวจสอบได้ตามหลัก เกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
ในการพิจารณาตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการคณะหนึ่งหรือหลายคณะเพื่อทำหน้าที่สืบสวนและสอบสวนข้อเท็จ จริง รับฟังคำชี้แจงและพยานหลักฐาน และจัดทำรายงานตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดเสนอต่อคณะกรรมการได้ ในการนี้ ให้คณะอนุกรรมการมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการ เว้นแต่คณะกรรมการจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ในการปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการอาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานก็ได้ มาตรา 27 ในระหว่างการพิจารณาตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการ ถ้าคณะกรรมการเห็นว่าอาจดำเนินการไกล่เกลี่ยได้ ให้คณะกรรมการดำเนินการไกล่เกลี่ยบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้คู่กรณีทำความตกลงเพื่อประนีประนอมและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ถ้าปรากฏว่าคู่กรณียินยอมตกลงเพื่อประนีประนอมและแก้ไขปัญหาและคณะกรรมการเห็นว่าการตกลงนั้นอยู่ในกรอบของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ให้คณะกรรมการจัดให้มีการจัดทำข้อตกลงระหว่างคู่กรณีเป็นหนังสือไว้และให้ยุติเรื่อง
ในกรณีที่ปรากฏแก่คณะกรรมการในภายหลังว่ามีการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามข้อตกลงเป็นหนังสือตามวรรคหนึ่งให้คณะกรรมการดำเนินการพิจารณาตรวจสอบตามอำนาจหน้าที่ต่อไป

มาตรา 28 ภายใต้บังคับมาตรา 27 เมื่อคณะกรรมการได้ดำเนินการตรวจสอบเสร็จสิ้นแล้วหากคณะกรรมการเห็นว่ามีการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนให้คณะกรรมการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบซึ่งต้องระบุรายละเอียดข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับพฤติการณ์แห่งการละเมิดสิทธิมนุษยชน เหตุผลที่มีความเห็นดังกล่าว และมาตรการการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนซึ่งต้องกำหนดให้ชัดแจ้งว่าบุคคลหรือหน่วยงานใดมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายในเรื่องใดและด้วยวิธีการอย่างไร รวมทั้งระยะเวลาในการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว ในการกำหนดมาตรการการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการอาจกำหนดให้บุคคลหรือหน่วยงานดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ด้วยวิธีใดที่เห็นเหมาะสมเพื่อป้องกันมิให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในลักษณะทำนองเดียวกันอีกก็ได้
ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นว่าการกระทำหรือละเลยการกระทำดังกล่าวไม่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่มีการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมซึ่งสมควรแก่การแก้ไขเยียวยาความเสียหายให้กับผู้ถูกกระทำเช่นว่านั้น คณะกรรมการอาจกำหนดแนวทางการแก้ไขเพื่อแจ้งให้บุคคลหรือหน่วยงานดำเนินการตามความเหมาะสมภายใต้อำนาจหน้าที่ของบุคคลหรือหน่วยงานนั้นได้
ให้คณะกรรมการแจ้งรายงานผลการตรวจสอบไปยังบุคคลหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่ต้องดำเนินการตามรายงานผลการตรวจสอบโดยเร็ว และในกรณีที่เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่มีการยื่นคำร้องให้แจ้งไปยังผู้ร้องทราบด้วย

มาตรา 29 เมื่อบุคคลหรือหน่วยงานได้รับแจ้งรายงานผลการตรวจสอบตามมาตรา 28 แล้ว ให้ดำเนินการตามมาตรการการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด และแจ้งผลการดำเนินการให้คณะกรรมการทราบ
ในกรณีที่การดำเนินการตามมาตรการการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนไม่อาจกระทำให้แล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้บุคคลหรือหน่วยงานขอขยายระยะเวลาการดำเนินการไปยังคณะกรรมการพร้อมทั้งเหตุผลและระยะเวลาที่ขอขยายก่อนที่กำหนดระยะเวลาเดิมจะสิ้นสุดลง แต่ทั้งนี้ ห้ามมิให้ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการมากกว่าสองครั้ง

มาตรา 30 เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 29 แล้ว ถ้าบุคคลหรือหน่วยงานมิได้มีการดำเนินการตามมาตรการการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือดำเนินการแล้วแต่ยังไม่แล้วเสร็จโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ให้คณะกรรมการรายงานต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อสั่งการให้มีการดำเนินการตามมาตรการการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับรายงาน ในการนี้ให้คณะกรรมการกำหนดรายละเอียดในการใช้อำนาจตามกฎหมายเพื่อการสั่งการของนายกรัฐมนตรีด้วย เว้นแต่การดำเนินการตามมาตรการการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้นไม่อยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรีที่จะสั่งการได้ ให้คณะกรรมการดำเนินการตามมาตรา 31
มาตรา 31 ในกรณีที่ปรากฏว่าไม่มีการดำเนินการหรือสั่งการให้ดำเนินการตามมาตรการการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามมาตรา 30 ให้คณะกรรมการรายงานต่อรัฐสภาเพื่อดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ ในการรายงานต่อรัฐสภาดังกล่าว หากคณะกรรมการเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยส่วนรวม คณะกรรมการจะเผยแพร่กรณีที่ไม่มีการดำเนินการตามมาตรการการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้นให้สาธารณชนทราบก็ได้
มาตรา32 ในการปฏิบัติหน้าที่ให้คณะกรรมการมีอำนาจดังต่อไปนี้

(1) มีหนังสือสอบถามส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเพื่อให้มีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงหรือให้ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการหรืองานใด ๆ หรือส่งวัตถุเอกสาร หรือพยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือส่งผู้แทนมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำประกอบการพิจารณาได้
(2) มีหนังสือเรียกบุคคล นิติบุคคล หรือหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งวัตถุ เอกสาร หรือพยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องมาตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนด การส่งหนังสือเรียกให้ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักงานของผู้รับ ในกรณีที่ไม่อาจส่งหนังสือเรียกให้แก่ผู้รับตามวิธีดังกล่าวได้หรือไม่มีการปฏิบัติตามหนังสือเรียกภายในระยะเวลาอันสมควร ให้คณะกรรมการส่งโดยวิธีดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง หรือจะจัดส่งโดยวิธีอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร
(3) ดำเนินการขอให้ศาลที่มีเขตอำนาจออกหมายเพื่อเข้าไปในเคหสถานหรือสถานที่ใด ๆ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือเพื่อรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต้องกระทำเท่าที่จำเป็นและโดยไม่ชักช้า ก่อนการตรวจสอบหรือรวบรวมพยานหลักฐานดังกล่าวให้กรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายแสดงความบริสุทธิ์เสียก่อนและเท่าที่สามารถกระทำได้ ให้ดำเนินการต่อหน้าผู้ครอบครองหรือดูแลสถานที่หรือผู้ซึ่งเกี่ยวข้อง หรือถ้าหาบุคคลดังกล่าวนั้นไม่ได้ก็ให้ดำเนินการต่อหน้าบุคคลอื่นอย่างน้อยสองคนซึ่งได้ขอร้องมาเป็นพยาน ในการนี้ ให้ผู้ครอบครองหรือดูแลสถานที่ หรือผู้ซึ่งเกี่ยวข้องให้ความร่วมมือเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายเป็นไปโดยสะดวก
(4) วางระเบียบเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าเดินทางของพยานบุคคลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่คณะกรรมการแต่งตั้งเพื่อทำการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน มาตรา 33 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กรรมการ อนุกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่คณะกรรมการแต่งตั้งเพื่อทำการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

หมวด ๒ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

มาตรา 17 ให้มีสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบปฏิบัติราชการฝ่ายรัฐสภา โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของประธานกรรมการ
มาตรา 18 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับกิจการทั่วไปของคณะกรรมการ และให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการ
(2) รับคำร้องเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการและดำเนินการสืบสวนหรือตรวจสอบเกี่ยวกับเรื่องที่มีการยื่นคำร้องตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
(3) ศึกษาและสนับสนุนให้มีการศึกษาและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
(4) ประสานงานกับหน่วยราชการ องค์การเอกชน หรือองค์การอื่นในด้านสิทธิมนุษยชนในการดำเนินการเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
(5) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย

มาตรา 19 ให้ข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภาบรรดาอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภาให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และให้ประธานกรรมการเป็นผู้ใช้อำนาจในการบริหารราชการและการบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตามกฎหมาย
มาตรา 20 ให้สำนักงานคณะกรรมการสิทธิ
มนุษยชนแห่งชาติมีเลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติคนหนึ่งรับผิดชอบการปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขึ้นตรงต่อประธานกรรมการและเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและลูกจ้างสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
มาตรา 21 ให้สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการเสนองบประมาณรายจ่ายประจำปีผ่านประธานรัฐสภาเพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้พอเพียงกับการบริหารงานโดยอิสระของคณะกรรมการ

หมวด 1 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

มาตรา 5 ให้มีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกสิบคน พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งมีความรู้หรือประสบการณ์ด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการ มาตรา 6 ประธานกรรมการและกรรมการต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

(2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์

(3) ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น

(4) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งของพรรคการเมือง

(5) ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

(6) ไม่ติดยาเสพติดให้โทษ

(7) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
(8) ไม่เป็นบุคคลที่ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
(9) ไม่เป็นบุคคลที่เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไป โดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันได้รับการเสนอชื่อ เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
(10) ไม่เคยถูกไล่ออกปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือจากหน่วยงานของเอกชน เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือประพฤติชั่ว หรือถือว่ากระทำการทุจริต
(11) ไม่เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
(12) ไม่เป็นกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(13) ไม่เคยถูกวุฒิสภามีมติให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง
มาตรา ๗ ผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการต้อง
(1)ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
(2) ไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น หรือไม่เป็นกรรมการหรือที่ปรึกษาของรัฐวิสาหกิจหรือของหน่วยงานของรัฐ
(3) ไม่ดำรงตำแหน่งใดในห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือองค์การที่ดำเนินธุรกิจโดยมุ่งหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใด
มาตรา ๘ การสรรหาและการเลือกกรรมการให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) ให้มีคณะกรรมการสรรหากรรมการประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด อัยการสูงสุด นายกสภาทนายความ อธิการบดีหรือผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นนิติบุคคลแห่งละหนึ่งคนให้เหลือห้าคน ผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนตามมาตรา ๒๔ แห่งละหนึ่งคน ให้เหลือสิบคน ผู้แทนพรรคการเมืองทุกพรรคที่มีสมาชิกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคละหนึ่งคนซึ่งเลือกกันเองให้เหลือห้าคน ผู้แทนสื่อมวลชน กิจการละหนึ่งคนรวมเป็นสามคน และเลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นเลขานุการ และให้คณะกรรมการสรรหามีหน้าที่สรรหาและจัดทำบัญชีรายชื่อบุคคลที่เหมาะสมจะเป็นกรรมการตามมาตรา 5 จำนวนยี่สิบสองคน
(2) ให้ประธานวุฒิสภาเรียกประชุมวุฒิสภาเพื่อมีมติเลือกผู้ได้รับการเสนอชื่อตาม (1) ซึ่งต้องกระทำโดยวิธีลงคะแนนลับ ผู้ได้รับคะแนนสูงสุด และมีคะแนนมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภาตามลำดับเป็นผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการ ถ้ากรรมการไม่ครบสิบเอ็ดคน ให้คณะกรรมการสรรหาดำเนินการสรรหาและจัดทำบัญชีรายชื่อบุคคลตาม

(1) เพื่อเสนอวุฒิสภาลงมติเลือกใหม่ ให้ผู้ได้รับเลือกตาม

(2) ประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานกรรมการแล้วแจ้งผลให้ประธานวุฒิสภาทราบ และให้ประธานวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป
มาตรา 9 กรรมการต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างเป็นอิสระและเป็นกลาง รวมทั้งต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติและประชาชนประกอบด้วย ให้กรรมการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
มาตรา 10 กรรมการมีวาระการดำรงตำแหน่งหกปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว กรรมการพ้นจากตำแหน่งตามวาระต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ได้รับแต่งตั้งใหม่จะเข้ารับหน้าที่ ชุดใหม่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่เมื่อสิ้นสุดวาระของกรรมการชุดเดิม
มาตรา 11 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดสมาชิกมีสิทธิร้องขอต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภามีมติให้ถอดถอนกรรมการออกจากตำแหน่งกรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติและประชาชน หรือไม่เป็นกลางหรือมีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องทางศีลธรรมจรรยาที่อาจมีผลกระทบ
มติของวุฒิสภา ต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

มาตรา 12 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 6
(4) กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 7
(5) วุฒิสภามีมติให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งตามมาตรา 11
(6) วุฒิสภามีมติให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ การป้องกันและปราบปรามการทุจริต
มาตรา 13 เมื่อกรรมการพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 12 ให้เริ่มดำเนินการตามมาตรา 8 ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง ในกรณีนี้ให้คณะกรรมการสรรหาจัดทำบัญชีรายชื่อบุคคลเป็นจำนวนสองเท่าของผู้ซึ่งพ้นจากตำแหน่งเสนอต่อประธานวุฒิสภา ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งในระหว่างที่อยู่นอกสมัยประชุมของรัฐสภา ให้ดำเนินการตามมาตรา 8 ภายในสามสิบวันนับแต่วันเปิดสมัยประชุมของรัฐสภา
มาตรา 14 การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการที่มีอยู่ จึงเป็นองค์ประชุม
มาตรา 15 คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) ส่งเสริมการเคารพและการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ
(2) ตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรืออันไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี และเสนอมาตรการการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่กระทำหรือละเลยการกระทำดังกล่าวเพื่อดำเนินการ ในกรณีที่ปรากฏว่าไม่มีการดำเนินการตามที่เสนอให้รายงานต่อรัฐสภาเพื่อดำเนินการต่อไป

(3) เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรีเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
(4) ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน
(5) ส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานระหว่างหน่วยราชการ องค์การเอกชน และองค์การอื่นในด้านสิทธิมนุษยชน
(6) จัดทำรายงานประจำปีเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนภายในประเทศเสนอต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี และเปิดเผยต่อสาธารณชน
(7) ประเมินผลและจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีเสนอต่อรัฐสภา
(8) เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาในกรณีที่ประเทศไทยจะเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาเกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
(9) แต่งตั้งอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
(10) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นซึ่งกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ

มาตรา 16 ให้ประธานกรรมการและกรรมการเป็นผู้ปฏิบัติงานประจำเต็มเวลาโดยได้รับค่าตอบแทนเป็นรายเดือนและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงาน ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา

พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2542

พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 และมาตรา 48 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปมาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้ “สิทธิมนุษยชน” หมายความว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรองหรือคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือตามกฎหมายไทย หรือตามสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตาม
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ “ประธานกรรมการ” หมายความว่า ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ “กรรมการ” หมายความว่า กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
มาตรา 4 ให้ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนรักษาการตามพระราชบัญญัติ ให้มีอำนาจออกระเบียบหรือประกาศโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ระเบียบและประกาศตามวรรคหนึ่งที่มีผลเป็นการทั่วไป เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

บทบาท หน้าที่ ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน พ.ศ.2542


1. ความเป็นมา
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิเท่าทีควรจึงถูกละเมิดอยู่มาตลอด พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2540 เป็นรัฐธรรมนูญที่เกิดจากความต้องการและการมีส่วนร่วมของประชาชนจากทุกภาคส่วนเพื่อป้องกันศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคของบุคคลมีการพึงได้อย่างเท่าเทียมกันของประชาชน
2. องค์ประกอบ

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน คือ บุคคลที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วย ประธานกรรมการ 1 คน และกรรมการอีก10 คน
3. อำนาจหน้าที่

3.1 ส่งเสริมการเคารพและปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน ในระดับประเทศและระหว่างประเทศ ตรวจสอบการรายงานการกระทำต่อรัฐสภา

3.2 เสนอนโยบาย และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย กฎหรือข้อบังคับต่อรัฐสภา และคณะรัฐมนตรี เพื่อส่งเสริม และคุ้มครอง
3.3 ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน
3.4 ส่งเสริมความร่วมมือและการประสารงานระหว่างหน่วยราชการ องค์การเอกชนและองค์การอื่นในด้านสิทธิมนุษยชน
3.5 จัดทำรายงานประจำปีเพื่อประเมินสถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชน ภายในประเทศเสนอต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี และเปิดต่อสาธารณะ
3.6 ประเมินผลและจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีเสนอต่อรัฐสภา
3.7 เสนอความคิดเห็นต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาในกรณีที่ประเทศไทยจะเข้าเป็นภาคีสัญญาเกี่ยวกับการส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
3.8 แต่ตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
3.9 ปฏิบัติการอื่น ตามกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ หรือกฎหมายอื่น ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการ

วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เป็นเกณฑ์มีจุหมายจะปกป้องพลเมืองแต่ละคนให้รอดพ้นจากการถูกรังแก สิทธิมนุษยชนเป็น พื้นฐานแห่งเสรีภาพความยุติธรรม และสันติภาพโลก
ปริญญาสากลว่า ประชาชนทุกคนมีเสรีภาพ มีความเท่าเทยมกันในเกียรติศักดิ์และสิทธิตั้งแต่เกิดมา และไม่ควรถูกเลือกปฏิบัติอันต่อเนื่องมาจากสัญชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนา เชื้อชาติ เพศ ความคิดเห็นทางการเมือง ความร่ำรวย หรือทรัพย์สินสิทธิที่ระบุไว้ในปฏิญญาสากล คืออิสภาพจากการเป็นทาส อิสรภาพจากการถูกทรมาน การได้รับกาคุ้มครองตามกฎหมายโดยเท่าเทียมกัน อิสรภาพจากการถูกจับกุมตามอำเภอใจ สิทธิที่จะได้รับจากการพิจารณาคดีในศาลโดยยุติธรรม เสรีภาพในการคิด
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
คำปรารภ
โดยการยอมรับนับถือเกียรติศักดิ์ประจำตัว และสิทธิเท่าเทียมกัน และโอนมิได้ของบรรดาสมาชิกทั้งหลายแห่งบรรดามนุษย์ เป็นหลักมูลแห่งอิสรภาพความยุติธรรมและสันติภาพในโลก
โดยที่เป็นการไม่นำภาพและการเหยียดหยามต่อสิทธิมนุษยชนยังผลให้มีการกระทำอย่างป่าเถื่อน เป็นการละเมิดมโนธรรมของมนุษยชาติอย่างร้ายแรง และได้มีการประกาศว่าปณิธานสูงสุดของสามัญชน
โดยที่เป็นการจำเป็นอย่างยิ่งที่มนุษยชนควรได้รับการความคุ้มครอง โดยหลักบังคับของกฎหมายของกฎหมาย ถ้าไม่ประสงค์ให้คนต้องถูกบังคับให้หันเข้าหาทหารกบฏขัดขืนต่อทรราชและการกดขี่เป็นวิถีทางสุดท้าย
โดยที่ประชากรแห่งสหประชาชาติได้ยืนไว้ในกฎบัตรถึงความศรัทธาในสิทธิมนุษยธรรมอันเป็นหลักมูลในเกียรติศักดิ์และค่ามนุษย์ และในสิทธิเท่าเทียมกันของบรรดาชายหญิง และได้ตกลงใจที่จะส่งเสริมความก้าวหน้าทางสังคมและมาตรฐานแห่งชีวิตที่ดีขึ้นพร้อมด้วยอิสรภาพอันไพศาล
โดยที่รัฐสมาชิกต่างปฏิญาณจะให้บรรลุถึงการส่งเสริมการเคารพทั่วไป และการปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพหลักมูลโดยความร่วมมือสหประชาชาติ
โดยที่ความเข้าใจร่วมกันในสิทธิและอิสรภาพเหล่านี้ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้ปฏิญาณนี้สำเร็จผลเต็มบริบูรณ์
ฉะนั้น สมัชชาจึงประกาศว่า
ปฏิญญาสากล เป็นมาตรฐานร่วมกันแห่งความสำเร็จสำหรับบรรดาประชากรและประชาชาติทั้งหลาย เพื่อจุมุ่งหมายปลายทางที่ว่าเอกชนทุกคนและองค์กรของสังคมทุกองค์กร
ข้อ 1 มนุษย์ทั้งหลายเกิดมาอิสระและเสมอภาคในเกียรติศักดิ์และสิทธิ ต่างมีความรู้สึกผิดชอบและมโนธรรมและควรปฏิบัติต่อกันด้วยเจตนารมณ์แห่งภราดรภาพ
ข้อ 2 (1) ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพบรรดาที่พรรณนาไว้ในปฏิญญา ปราศจากการแบ่งแยกโดยวิธีใดๆ เช่น เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือทางอื่น เผ่าพันธุ์แห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สินกำเนิด หรือสถานะอื่นๆ
(2) ไม่มีการแบ่งแยกใดๆ ตามมูลฐานแห่งสถานะทางการเมือง ทางการศาลหรือทางการระหว่างประเทศของประเทศ หรือดินแดนที่บุคคลสังกัดไม่ว่าดินแดนนี้จะเป็นเอกราช อยู่ในความพิทักษ์มิได้ปกครองตนเองหรืออยู่ภายใต้การจำกัดอธิปไตยใดๆ ทั้งสิน
ข้อ 3 คนทุกคนมีสิทธิในการดำรงชีวิต เสรีภาพ และความมั่นคงแห่งตัวตน
ข้อ 4 บุคคลผู้ใดจะถูกยึดเป็นทาสหรือต้องภาระจำยอม ไม่ได้ความเป็นทาสและการค้าทาสเป็นห้ามขาดทุกรูป
ข้อ 5 บุคคลใดๆ จะถูกทรมาน หรือได้รับผลปฏิบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายผิดมนุษยธรรมหรือต่ำช้าไม่ได้
ข้อ 6 ทุกคนมีสุทธิที่จะได้รับการนับถือว่าเป็นบุคคลตามกฎหมายทุกแห่งหน
ข้อ 7 ทุกคนเสมอกันตามกฎหมาย มีสิทธิที่ได้รับความคุ้มครองของกฎหมายเท่าเทียมกัน ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันจากการเลือกปฏิบัติใด ๆ อันเป็นการล่วงละเมิดปฏิญญานี้ และจากการยุยงให้เกิดการเลือกปฏิบัติดังกล่าว
ข้อ 8 ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาจากศาลที่มีอำนาจแห่งชาติก่อการกระทำอันละเมิดสิทธิหลักมูล ตนได้รับตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
ข้อ 9 บุคคลใดจะถูกจับกุม กักขัง หรือเนรเทศไปต่างถิ่นโดยพลการไม่ได้
ข้อ 10 ทุกคนมีสิทธิทางเสมอภาคเต็มที่ การพิจารณาเป็นธรรมและเปิดเผยจากศาลที่อิสระและเที่ยงธรรมในการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของตน
ข้อ 11 (1) ทุกคนที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดทางอาญา มีสิทธิที่จะได้การสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์ จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่ามีผิดตามกฎหมาย
(2) จะถือบุคคลใด ๆ ว่ามีผิดในความผิดในทางอาญาเนื่องด้วยการกระทำหรือละเว้นใด ๆ อันมิได้จัดเป็นความผิดทางอาญาตามกฎหมายแห่งชาติ หรือกฎหมายระหว่างประเทศในขณะที่ได้กระทำการนั้นขึ้นไม่ได้
ข้อ 12 บุคคลใด ๆ จะถูกแทรกสอดโดยพลการในการในความเป็นส่วนตัว ในครอบครัว ในเคหสถาน หรือในการสื่อสาร และถูอกลบหลู่ในเกียติยศและชื่อเสียงไม่ได้ ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองของกฎหมายต่อการแทรกสอด หรือการลบหลู่
ข้อ 13 (1) ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งการเคลื่อนไหว และสถานที่อยู่ภายในเขตของแต่ละรัฐ
(2) ทุกคนมีสิทธิที่จะออกจากประเทศใดไป รวมทั้งประเทศของตนเองด้วยและที่จะกลับประเทศตน
ข้อ 14 (1) ทุกคนมีสิทธิที่จะแสวงหา และที่จะได้อาศัยประเทศอื่นให้พ้นจากการประหัตประหาร
(2) จะอ้างสิทธิไม่ได้ การประหัตประหารสืบเนื่องอย่างแท้จริงมาจากความผิดที่มิใช่ทางการเมืองหรือจากการกระทำอันขัดต่อวัตถุประสงค์ และหลักการของสหประชาชาติ
ข้อ 15 (1) ทุกคนมีสิทธิในการถือสัญชาติ
(2) บุคคลใด จะถูกตัดสัญชาติของตนโดยพลการ หรือถูกปฏิเสธสิทธิที่เปลี่ยนสัญชาติไม่ได้
ข้อ 16 (1) ชายหญิงที่มีอายุเต็มบริบูรณ์แล้ว มีสิทธิที่ทำการสมรส และที่จะก่อตั้งครอบครัว โดยไม่จำกัด เชื้อชาติ สัญชาติ หรือ ศาสนาต่างมีสิทธิเท่าเทียมกันในการสมรส ระหว่างการสมรสปละการขาดจากการสมรส
(2) การสมรสจะกระทำกัน ด้วยความยินยอมโดยอิสระและเต็มที่ของผู้ที่เจตนาจะเป็นผู้สมรส
(3) ครอบครัวเป็นหน่วยธรรมชาติและหลักมูลของสังคม และมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองจากสังคมและรัฐ
ข้อ 17 (1) ทุกคนมีสิทธิที่จะเป็นเจ้าของทรัพย์สินโดยตนเอง เช่น เดียวกัน โดยร่วมกับผู้อื่น
(2) บุคคลใด ๆ จะถูกบังคับให้เสียทรัพย์สินโดยพลการไม่ได้
ข้อ 18 ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งความคิด มโนธรรม และศาสนา โดยการสอนปฏิบัติการสักการบูชา และการประกอบพิธีกรรม
ข้อ 19 ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งความคิดเห็นและการแสดงออก ปราศจากการแทรกสอด และที่จะแสวงหา รับและให้ข่าวสาร และความคิดเห็นไม่ว่าโดยวิธีใดๆ
ข้อ 20 (1) ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งการร่วมประชุมและการตั้งสมาคมโดยสันติ
(2) บุคคลใดๆ จะถูกบังคับให้สังกัดสมาคมหนึ่งสมาคมใดไม่ได้
ข้อ 21 (1) ทุกคนมีสิทธิที่จะมีส่วนในรัฐบาลของประเทศตน จะเป็นโดยตรงหรือโดยผ่านทางผู้แทนได้เลือกตั้งโดยอิสระ
(2) ทุกคนมีสิทธิที่จะเข้าถึงบริการสาธารณะในประเทศของตนโดยเสมอภาค
(3) เจตจำนงของประชากรจะต้องเป็นมูลฐานแห่งอำนาจของรัฐบาลเจตจำนงนี้จะต้องแสดงออกทางการเลือกตั้งตามกำหนดเวลาอย่างแท้จริง
ข้อ 22 ทุกคนในฐานที่เป็นสมาชิกของสังคมมีสิทธิในความมั่นคงทางสังคม อันจำเป็นยิ่งสำหรับเกียรติศักดิ์ของตน และวิวัฒนาการแห่งบุคลิกของตน
ข้อ 23 (1) ทุกคนมีสิทธิในการงาน ในการเลือกงานโดยอิสระในเงื่อนไขอันยุติธรรมเป็นประโยชน์แห่งการงาน และในการคุ้มครองต่อการว่างงาน
(2) ทุกคนมีสิทธิจะได้รับเงินค่าจ้างเท่าเทียมกัน สำหรับงานเท่าเทียมกัน
(3) ทุกคนที่ทำงานมีสิทธิที่จะได้รับสินจ้างที่ยุติธรรม และเป็นประโยชน์ที่จะให้ประกันแก่ตนเองและครอบครัวแห่งตน
(4) ทุกคนมีสิทธิที่จะจัดตั้งและที่เข้าร่วมสหพันธ์กรรมการเพื่อความคุ้มครองแห่งผลประโยชน์ของตน
ข้อ 24 ทุกคนมีสิทธิในการพักผ่อน และเวลาว่าง รวมทั้งการจำกัดเวลางานตามสมควร
ข้อ 25 (1) ทุกคนมีสิทธิในมาตรฐานการครองชีพอันเหมาะสมแก่สุขภาพ และความผาสุกของตน และครอบครัวรวมทั้งอาหาร เครื่องนุ่มห่มที่อยู่อาศัย และการรักษาทางแพทย์ และบริการสังคมที่จำเป็นและมีสิทธิในความมั่นคงยามว่าง เจ็บป่วย พิการ เป็นม่าย วัยชราหรือหรือขาดอาชีพ
(2) มาดาและเด็ก มีสิทธิที่จะรับการรักษาและการช่วยเหลือเป็นพิเศษ
ข้อ 26 (1) ทุกคนมีสิทธิในการศึกษา การศึกษาจะต้องให้เปล่าอย่างน้อยในขั้นประถมศึกษาและการศึกษาขั้นหลักมูล การประถมศึกษาจะต้องเป็นการบังคับ การศึกษาทางเทคนิคและวิชาชีพจะต้องอันเปิดโดยทั่วไป และการศึกษาขั้นสูงขึ้นไป
(2) การศึกษาจะได้จัดในทางส่งเสริมบุคลิกภาพของมนุษย์อย่างเต็มที่และยังความเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพหลักมูลให้มั่นคงขึ้น จะต้องส่งเสริมความเข้าใจขันติธรรมและมิตรภาพระหว่างบรรดาประชาชาติ หมู่เชื้อชาติหรือศาสนา และจะต้องส่งเสริมกิจการของสหประชาชาติ เพื่อการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ
(3) บิดามารดามีสิทธิเบื้องแรก ที่จะเลือกชนิดการศึกษาอันจะให้บุตรของตน
ข้อ 27 (1) ทุกคนมีสิทธิที่จะร่วมในชีวิตทางวัฒนธรรมของประชาคมโดยอิสระที่เสวยผลแห่งศิลปะศาสตร์และจะมีส่วนในความก้าวหน้าและคุณประโยชน์ของวิทยาศาสตร์
(2) ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองผลประโยชน์ทางศีลธรรม และทางวัตถุอันเป็นผลของประดิษฐ์กรรมใดๆ ทางวิทยาศาสตร์ วรรณกรรม และศิลปกรรมตนเป็นผู้สร้าง
ข้อ 28 ทุกคนมีสิทธิในระเบียบทางสังคมและทางระหว่างประเทศ จะเป็นทางให้สำเร็จผลตามสิทธิและอิสรภาพดั่งพรรณนา
ข้อ 29 (1) ทุกคนมีหน้าที่ต่อประชาคม ด้วยการส่งเสริมบุคลิกภาพของตนโดยอิสระและเต็มที่ จะกระทำได้ก็แต่ในปะชาคมเท่านั้น
(2) ในการใช้สิทธิและอิสรภาพแห่งตน ทุกคนจะอยู่ในบังคับก็แต่ของข้อจำกัด ได้กำหนดลงในกฎหมายเท่านั้น เพื่อประโยชน์แห่งการรับนับถือ และเคารพสิทธิ อิสรภาพของผู้อื่นตามสมควร และแห่งการบำบัดความต้องการอันชอบธรรมของศีลธรรม ความสงบเรียบร้อยของสาธารณะและสวัสดิการทั่วไปในสังคมประชาธิปไตย
(3) สิทธิและอิสรภาพเหล่านี้ จะใช้ขัดต่อวัตถุประสงค์และหลักการของสหประชาชาติไม่ได้เป็นอันขาด
ข้อ 30 ไม่มีบทใดในปฏิญญานี้ที่จะอนุมานว่าให้สิทธิใด แก่รัฐ หมู่คน หรือบุคคลในอันที่จะดำเนินกิจการใดๆ หรือปฏิบัติใดๆ อันมุ่งต่อการทำลายสิทธิและอิสรภาพดังพรรณนา

วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน




1. แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
1.1 สิทธิมนุษยชนครอบคลุมถึงสิทธิของทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา นับแต่ทารกแรกเกิดและมีชีวิต เด็กและเยาวชน สตรี ผู้ยากไร้ คนเร่ร่อน ผู้ใช้แรงงาน คนพิการ คนขอทาน เกษตรกร ผู้ป่วยรวมถึงคนป่วยโรคเอดส์ และคนฝากขัง
1.2 สิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องของ
1.2.1 ชีวิตทุกชีวิต
1.2.2 สิทธิ เสรีภาพ อิสรภาพ
1.2.3 ความเสมอภาค
1.2.4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
1.2.5 การคุ้มครองตาม
1. รัฐบาล
2. ปฏิญญาสากล
3. กฎหมายและข้อตกลงระหว่างประเทศ
4. มารฐานสากล
1.3 รัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่บัญญัติเรื่องศักดิ์ความเป็นมนุษย์ มีความเชื่อมโยงและเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่อง สิทธิมนุษยชน อย่างแยกกันไม่ได้

2. หลักการสำคัญของ สิทธิมนุษยชน
2.1 สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิเฉพะของมนุษย์แต่ละคนที่ไม่สามารถโอนให้กันและกันได้
2.2 สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้ และต้องพึ่งพิงกันและกัน
2.3 สิทธิมนุษยชน เป็นวิถีทางที่นำไปสู่สันติภาพและพัฒนาที่ยั่งยืน
2.4 สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิที่บุคคลพึงมีในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
2.5 สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิที่ทุกคนพึงมีความเท่าเทียมกันอย่างเป็นสากลและตลอดไป

3. สิทธิมนุษยชน ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
หมวด 1 บททั่วไป
มาตรา 4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง
มาตรา 26 การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กรต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
มาตรา 28 บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีงามของประชาชน
บุคคลถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เพื่อใช้สิทธิทางศาล หรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้
มาตรา 31 บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้าย จะกระทำมิได้ แต่การลงโทษประหารที่กฎหมายบัญญัติ ไม่ถือว่าเป็นการลงโทษด้วยวิธีโหดร้าย
การจับ คุมขัง ตรวจค้นตัวบุคคล หรือการกระทำใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอำนาจบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
มาตรา 34 สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกรียศติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัว ย่อมได้รับความคุ้มครอง
การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย ข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชนอันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกรียศยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวจะกระทำมิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน
มาตรา 53 เด็ก เยาวชน และบุคคลในคอบครัว มีสิทธิได้รับการคุ้มครองโดยรัฐจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม
เด็กและเยาวชนไม่มีผู้ดูแล มีสิทธิได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาอบรมจากรัฐทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ
หมวด 8 ศาล
มาตรา 241 ในคดีอาญา ผู้ต้องหาหรือจำเลยย่อมมีสิทธิได้รับการสอบสวนหรือการพิจารนาคดีด้วยความรวดเร็วต่อเนื่องและเป็นธรรม
ในขั้นสอบสวน ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนปากคำตนได้
ผู้เสียหายหรือจำเลยได้คดีย่อมมีสิทธิตรวจหรือคัดสำเนาให้การของตนในขั้นสอบสวนหรือเอกสารประกอบคำให้การของตน เมือพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องต่อสารแล้วทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
ในคดีอาญาที่พนักงานวัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องแล้ว ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา หรือผู้มีส่วนได้เสีย ย่อมมีสิทธิขอทราบสรุปพยานหลักฐาน พร้อมความเห็นของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการในการสั่งคดี ตามกฎหมายบัญญัติ
มาตรา 244 บุคคลเป็นพยานในคดีอาณามีสิทธิได้รับการคุ้มครอง การปฏิบัติที่เหมาะสม และค่าตอบแทนที่จำเป็นและสมควรจากรัฐ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา 245 บุคคลผู้เสียหายในคดีอาญามีสิทธิได้รับการคุ้มครอง การปฏิบัติที่เหมาะสม และค่าตอบแทนที่จำเป็นและสมควรจากรัฐ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
บุคคลใดได้รับความเสียหายถึงแก่ชีวิตหรือแก่ร่างกายหรือจิตใจ เนื่องจากการกระทำผิดอาญาของผู้อื่นโดยตนมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดและไม่มีโอกาสได้รับบรรเทาความเสียหายโดยทางอื่น บุคคลนั้นหรือทายาทย่อมมีสิทธิได้ย่อมมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ
มาตรา 246 บุคคลใดตกเป็นจำเลยในคดีอาญาและถูกคุมขังระหว่างการพิจารณาคดีหากปรากฏตามคำพิพากษาคดีนั้นว่าข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิด การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดบุคคลนั้นย่อมมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายตามสมควร ตลอดจนบรรดาที่เสียไปเพราะการนั้นคือ ทั้งนี้ตามเงื่อนไขและวิธีกฎหมายบัญญัติ
บทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนจึงเป็นข้อผูกพัน หรือบทบัญญัติที่กำหนดให้รัฐ หรือผู้ปกครองรัฐ ไม่ลวงละเมิดเสรีภาพของบุคคล และยังต้องคุ้มครองให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วย


ความหมายและความสำคัญของสิทธิมนุษยชน

1. ความหมายของสิทธิมนุษยชน
1.1 สิทธิมนุษยชน ตามที่เดชา สวนานนท์ ได้อธิบายความหมายสิทธิมนุษยชนไว้ในหนังสือคำอธิบายศัพท์: รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ว่า สิทธิมนุษยชน หมายถึงสิทธิของมนุษย์ ติดตัวมาแต่เกิดของมนุษย์ทุกคน เป็นกระแสโลกอีกกระแสหนึ่ง องค์การสหประชาชาติได้ผลักดันให้มวลประเทศสมาชิกให้การยอมรับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ยอมรับในหลักการแห่งการคุ้มครองในสิทธิมนุษยชน เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกโดยการจัดตั้งองค์การขึ้นมา เพื่อตรวจสอบดูแล เรียกว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประกอบด้วย ประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอื่นอีกสิบคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งขึ้นตามคำแนะนำของวุฒิสภา
พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 3 ได้ให้ความหมายของ สิทธิมนุษยชน ไว้ว่า
สิทธิมนุษยชน หมายความว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคลที่ได้ที่ได้รับการรับรอง หรือคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย ตามกฎหมายไทย ตามสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีพันกรณีที่จะต้องปฏิบัติตาม
สิทธิมนุษยชน หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนเกิดมามีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีอิสรภาพ เสรีภาพ ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีใครสามารถล่วงละเมิดได้
1.2 ความหมายของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เดโช สวนานนท์ ได้อธิบายไว้ว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นศัพท์ใหม่ที่เพิ่งจะได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 คำว่ามนุษย์ มีหมายความว่า มีจิตใจสูง มีจิตใจที่เป็นอารยะทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์โลกทั้งปวง
เกียรติศักดิ์ คือ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นสิทธิเฉพาะตัวที่พึงสงวน
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นคุณสมบัติของมนุษย์ทุกคนพึงสงวนและรักษามิให้บุคคลอื่นมาละเมิดได้
2. ความสำคัญของสิทธิมนุษยชน มีดังนี้
2.1 มนุษย์ชนทุกคนเกิดมาแล้วย่อมมีสิทธิในตนเอง สามารถปกป้องตนเองอย่างมีศักดิ์ศรี ไม่สมควรที่บุคคลอื่นจะถือสิทธิ ครอบครอง ซื้อขายใช้แรงงานกดขี่ ทรมาน หรือการลงโทษด้วยวิธีการที่โหดร้าย
2.2 มนุษย์เป็นสัตว์สังคม คือชอบอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเป็นพวก มีอิสระ สร้างสรรค์ผลงาน พัฒนาศักยภาพของตนเอง
2.3 มนุษย์มีเกียรติภูมิที่เกิดเป็นมนุษย์ มีคุณค่าในตนเอง มีความภาคภูมิใจ ไม่ควรเหยียดหยามบุคคลอื่นด้านชื่อเสียง เกียรติยศ การประจาน ต่อสาธารณชนให้เสื่อมเสียเกียรติยศชื่อเสียง ดังนั้น กฎหมายจึงต้องคุ้มครองป้องกันสิทธิของบุคคล เกียรติยศ ชื่อเสียง
2.4 มนุษย์ทุกคนเกิดมามีฐานะไม่เท่าเทียมกัน ศักยภาพไม่เท่าเทียมกันแม้ถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา ศาสนา ผิกาย สุข สถานภาพทางสังคม การศึกษาไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้น บุคคลพึงได้รับการคุ้มครองจากรัฐในฐานะเป็นพลเมืองของรัฐ


เปรียบเทียบการปกครองระบอบประชาธิปไตยและเผด็จการ และผลที่มีต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน

ระบอบประชาธิปไตย

เน้นสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นสำคัญ
ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ
ผู้นำอยู่ในตำแหน่งเป็นวาระ
ยึดหลักการทางประชาธิปไตยในการดำรงชีวิตและแก้ปัญหา
ประชาชนมีความเสมอภาคตามกฎหมาย



ระบอบเผด็จการ



เน้นอำนาจรัฐเป็นสำคัญ
ผู้นำมีเพียงคนเดียว หรืออาจมีคณะเดียวมีส่วนสำคัญในการปกครองประเทศ
ผู้นำอยู่ในตำแหน่งตลอดชีวิต
ยึดถือความรุนแรงและเด็ดขาดในการแก้ปัญหา
การปกครองมักใช้วิธีการรวมอำนาจสู่ศูนย์กลาง
ผู้นำย่อมมีอำนาจและสิทธิพิเศษกว่าประชาชนทั่วไป




ระบอบการปกครองแบบเผด็จการ


ความหมายของการปกครองแบบเผด็จการ
1. เป็นการปกครองที่เน้นอำนาจรัฐเหนือเสรีภาพของบุคคล ผู้ปกครองอาจเป็นคนเดียวหรือหลายคนเข้ายึดอำนาจหรือผูกขาดการใช้อำนาจยาวนาน
2. ประชาชนต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐผู้ขัดจะได้รับการลงโทษที่รุนแรง
รูปแบบการปกครองแบบเผด็จการ
1.1 เผด็จการอำนาจนิยม หมายถึง การปกครองที่รัฐเข้าควบคุมและผูกขาดการดำเนินการทางการเมืองการปกครอง ประชาชนยังมีเสรีภาพด้านเศรษฐกิจและสังคม การปกครองของของประเทศสเปนภายใต้ การปกครองของอิรัก ภายใต้การปกครองของประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน
1.2 เผด็จการเบ็ดเสร็จนิยม หมายถึง การปกครองที่รัฐเข้าควบคุมและผูกขาดการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมในรัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จนิยมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือเผด็จการฟาสซิสต์และเผด็จการคอมมิวนิสต์
1.3 เผด็จการฟาสซิสต์ เป็นการปกครองที่เน้นความสำคัญของผู้นำว่ามีอำนาจเหนือกว่าประชาชนทั่วไป เน้นความเป็นเชื้อชาตินิยมอย่างรุนแรงกระตุ้นให้รักชาติและการใช้กำลังรุนแรง
1.4 เผด็จการคอมมิวนิสต์ เป็นการปกครองที่รัฐเข้าควบคุมทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในรัฐนั้นๆ เน้นความสำคัญของชนชั้นกรรมาชีพ




ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนในระบอบเผด็จการ คือ รัฐจะกัดบทบาทหน้าที่และสิทธิเสรีภาพของประชาชน ประชาชนมีหน้าที่ปฏิบัติตนตามนโยบายและคำสั่งของรัฐบาลโดยไม่มีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นหรือหรือโต้แย้ง ปะชาชนต้องมีวินัย ปฏิบัติตามเกณฑ์ ระเบียบตลอดจนกฎหมายประชาชนที่ฝ่าฝืนจะต้องับโทษอย่างรุนแรง
ข้อดีข้อเสียของระบอบเผด็จการ
ข้อดีของระบอบเผด็จการ

1. รัฐบาลสามารถตัดสินใจทำการได้รวดเร็วกว่ารัฐบาลนะบอบประชาธิปไตย เช่นสามารถออกกฎหมายบังคับใช้ เพื่อวัตถุใดวัตถุหนึ่งไม่ต้องผ่านความคิดเห็น
2. การแก้ปัญหาบางอย่างมีประสิทธิผลกว่าการปกครองแบบประชาธิปไตย เช่น การสั่งการปราบจลาจล การก่ออาชญากรรม และการก่อการร้ายต่างๆ ได้อย่างมาก



ข้อเสียของระบอบเผด็จการ




1. เป็นการปกครองโดยบุคคลคนเดียวหรือกลุ่มเดียวย่อมจะมีการผิดพลาดและใช้อำนาจ เพื่อประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องได้
2. มีการใช้อำนาจเผด็จการ กดขี่ และลิดรอนสิทธิเสรีภาพ รวมทั้งประทุษร้ายต่อชีวิตของคนหรือกุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับกลุ่มผู้ปกครอง
3. ทำให้คนดีมีความสามารถ ที่ไม่ใช่พวกพ้อง หรือผู้สนับสนุนกลุ่มผู้ปกครองไม่มีโอกาสดำรงตำแหน่งสำคัญในการเมือง
4. ประชาชนส่วนใหญ่ที่ถูกกดขี่และขาดสิทธิเสรีภาพย่อมไม่สนับสนุนนโยบายของรัฐบาลอย่างเต็มที่ และอาจพยายามต่อต้านอยู่เงียบๆ
5. อาจนำประเทศชาติไปสู่ความพินาศได้ เหมือนดังฮิตเลอร์ได้นำประเทศเยอรมนีเข้าสู่สงครามโลกหรือพลเอกโตโจได้นำประเทศญี่ปุ่นเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2